สายพานลำเลียงและ AGV

ระบบรถสายพานลำเลียง
ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System
ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด


            สายพานลำเลียงแบบมือหมุน


สายพานลำเลียง






ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน 

ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท
1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา
  เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray ... ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)


ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้
  เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น ... 
ข้อมูลเพิ่มเติม >>  ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)
ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง 
เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)


4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System


ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ)

ภาพประกอบ สายพานลำเลียงแบบต่าง ๆ





ปัญหาที่เกิดจากการใช้สายพานลำเลียง มีรายละเอียดดังนี้
        ปกติเมื่อเครื่องสายพานลำเลียงทำงานนั้น ที่ผิวหน้าสายพานบริเวณที่สัมผัสกับวัสดุโดยตรง หรือที่นิยมเรียกทับศัพท์กันว่า “Top Cover”             นั่นเอง ที่บริเวณนี้เองที่มักจะมีวัสดุบางส่วนที่เกาะติดอยู่ เนื่องเพราะ เมื่อสายพานได้ทำหน้าที่ส่งวัสดุไปตามสายการทำงานแล้วนั้น ยังมีวัสดุที่มีความชื้นค่อนข้างสูงบางส่วนเกาะติดตามผิวด้านบนของสายพาน ซึ่งเรียกกันว่า “Carry Back” เจ้าตัวนี้เองเมื่อสายพานเคลื่อนที่ไปก็ความชื้นก็จะลดลงเพราะเคลื่อนที่สัมผัสกับอากาศเมื่อความชื้นลดลง ความสามารถในการยึดเกาะก็ลดลงตามไปด้วย จึงเกิดการร่วงลงสะสมตามใต้เครื่องสายพานลำเลียง หรือบางจุดที่ความชื้นยังเหลืออยู่มาก ไม่สามารถร่วงลงได้ด้วยตัวเอง เมื่อสายพานพาเคลื่อนที่ไปสัมผัสการลูกกลิ้งรีเทิร์นวัสดุเหล่านี้ก็จะหลุดออกจากผิวสายพานลงสะสมตามลูกกลิ้งแทน ซึ่งนำความเสียหายอื่นตามมาอีกมากมาย เช่น ลูกกลิ้งเสียหายเนื่องจากการขัดสี หรือลูกปืนแตก ลูกกลิ้งไม่หมุน ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานในการทำงานของเครื่องจักร เพราะความเสียดทานเพิ่มขึ้น หรือเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสายพานเดินไม่ตรงแนว เพราะวัสดุที่สะสมตามลูกกลิ้งรีเทิร์นนั้นจะมีผลทำให้ขนาดของลูกกลิ้งเปลี่ยนไปไม่เท่ากันตลอดแนวคือไม่ได้แนวขนานกันตามที่ควร ปัญหาการทำความสะอาดบริเวณใต้จักรซึ่งในบางครั้งอยู่ในพื้นที่คับแคบทำให้ต้องมีการหยุดเครื่องจักรเพื่อการทำความสะอาด เสียค่าใช้จ่ายในการสตาร์ทเครื่องอีก รวมถึงการเกิดฝุ่นละอองในอากาศ เมื่อมีลมพัดผ่านจุดที่วัสดุกองสะสมเกิดเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมวัสดุบางประเภทถ้ามีการสะสมมากๆอาจทำให้เกิดความร้อนสูงการติดไฟ อาจนำมาซึ่งไฟไหม้ระบบสายพานลำเลียงหรือไฟไหม้โรงงานได้  เหล่านี้เป็นต้น
     เอาล่ะคราวนี้เรามาดูกันว่าเจ้า Carryback ที่เรากล่าวถึงกันมาในข้างต้นมันมีผลกระทบอย่างไรกับการทำงานของเครื่องสายพานลำเลียง ซึ่งต่อไปเราจะเรียกกันทับศัพท์ว่า Belt Conveyor จะได้ดูอินเทรนด์หน่อยคงไม่ว่ากัน เข้าเรื่องดีกว่า…
ผลกระทบที่เกิดจาก ผลกระทบที่เกิดจาก Carryback
1.  พลังงาน ต้องการพลังงานมากขึ้นในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เนื่องจากความเสียดทานในระบบเพื่มขึ้นจากการที่ลูกกลิ้งไม่หมุน และสายพานเคลื่อนที่ถูไปกับกองวัสดุที่สะสมกันจนถึงระดับการเคลื่อนที่ของสายพาน
2.ความเสียหายของชิ้นส่วนเครื่องจักร
2.1   ลูกกลิ้ง เสียหายเนื่องจากลูกปืนตาย และอื่นๆ2.2   โครงสร้าง ในกรณีที่เครื่องสายพานลำเลียงวัสดุที่กัดกร่อน เช่น น้ำตาล สารเคมี ปุ๋ย ซึ่งกัดกร่อนโครงสร้างให้ชำรุดเสียหายได้2.3   อายุการใช้งานของสายพานสั้นลงเนื่องจากการถูกขัดสี หรือการเสียหายเนื่องจากสายพานวิ่งไม่ได้แนวทำให้ขอบสายพานไปชนเข้าโครงสร้างขอบแตก เมื่อขอบแตกชั้นผ้าใบที่อยู่ภายก็จะสามารถสัมผัสกับวัสดุได้ทำให้ชั้นผ้าใบเสื่อมคุณภาพได้ง่ายขึ้น อายุการใช้งานสายพานจึงสั้นลง
 3.การทำความสะอาด ต้องกำลังคนในการทำความสะอาดและต้องหยุดเครื่องจักรก่อนเข้าไปทำงานบริเวณใกล้เครื่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามมาตรฐานสากล นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการสตาร์ทเริ่มเดินเครื่องใหม่ ค่าจ้างแรงงานในการทำความสะอาด ค่าเสียเวลาในการหยุดเครื่องรอ
4. วัสดุที่ร่วงระหว่างการลำเลียงกลายวัสดุที่สูญเสีย (Product loss) ในกระบวนการผลิต ซึ่งก็ทำให้บริษัทสูญเสียรายได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นกรณีที่วัสดุที่ลำเลียงนั้นมีมูลค่าสูง หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำเศษวัสดุเหล่านั้นกลับเข้าในกระการผลิตอีกครั้ง
5..อุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย
ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมลดลง
 ที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าเราควรจะมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดเศษวัสดุ (Carry back) เหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่สามารถได้ วิธีการที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือการกำจัดเศษวัสดุเหล่านี้ ณ จุดที่เกิดนั่นคือ จุดขนถ่าย (Transfer point) หรือที่พูเล่ย์หัวขับสายพาน (Head Pulley) เพื่อให้เศษวัสดุเข้าไปในกระบวนการต่อไปน้อยที่สุด โดยการติดตั้งอุปกณ์ทำความสะอาดสายพานประสิทธิภาพสูงๆเพื่อกำจัด Carry back ออกให้มากๆ และที่สำคัญ เศษวัสดุที่กำจัดออกที่ตำแหน่งสามารถตกลงสู่สายการลำเลียง (Process Line) ต่อไปการเกริ่นนำคงต้องหยุดไว้เพียงเท่านี้ก่อน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------



ระบบ AGV  
(Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS)  
 รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
 รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ     
รูปภาพประกอบ รภ AGV
                                                                                                                     





รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม